ประวัติ นพ.ปิโยรส ปรียานนท์
RAdm. Dr. Piyoros Preeyanont M.D. Ph.D
- ชื่อ พล.ร.ต. นพ.ดร. ปิโยรส ปรียานนท์ ร.น .
- เกิด 11 มิถุนายน พ.ศ. 2501
- บิดา นพ. ปัญญา ปรียานนท์ ร.น.
- มารดา นางสินทรา ปรียานนท์ (เป็นธิดาของหลวงทรงบุณยแพทย์,.ท.บุญทรง บุณยชาต แพทย์ประจำพระองค์ ในกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ )
- ภรรยา พล.ร.ต. ทันตแพทย์หญิง สพฤดี อุดหนุน ร.น. ทันตแพทย์ประจำกองทันตกรรม โรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า กรมแพทย์ทหารเรือ
- ตำแหน่ง รองผู้อำนวยการ รพ.สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ กรมแพทย์ทหารเรือ
- ผู้อำนวยการ ศูนย์วิจัยทางการแพทย์ โรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า กรมแพทย์ทหารเรือ
- ประธานมูลนิธิดวงแก้ว ในพระสังฆราชูปถัมภ์
- ประธานกรรมการ สถานปฏิบัติธรรมวัชรธรรมสถานประธานโครงการเฉลิมพระเกียรติ 72พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว“รอยยิ้มเพื่อพ่อ1”
- ประธานโครงการเฉลิมพระเกียรติ 75 พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว"รอยยิ้มเพื่อพ่อ 2"
- ประธานโครงการเฉลิมพระเกียรติ 80-85 พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว"รอยยิ้มเพื่อพ่อ 3"
- ประธานกรรมการที่ปรึกษา มูลนิธิพุทธฉือจี้ไต้หวันประเทศไทย
- รองประธานมูลนิธิจิ้งซือดวงแก้วในพระสังฆราชูปถัมภ์
- ประธานมูลนิธิดวงแก้ว ในพระสังฆราชูปถัมภ์
- ประธานโครงการเทิดพระเกียรติสมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายก
สถานที่ทำงาน
- ศูนย์วิจัยทางการแพทย์ โรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า 504 ถ.สมเด็จพระเจ้าตากสิน บุคคโล ธนบุรี กรุงเทพฯ 10600
- มูลนิธิดวงแก้ว ในพระสังฆราชูปถัมภ์ เลขที่ 1/2 ซ.กันตะบุตร(เทศบาล23) ถ.สุขุมวิทต.ปากน้ำ อ.เมือง จ.สมุทรปราการ 10270 โทรศัพท์ / โทรสาร 02-049-7184
ประวัติการศึกษา
- พ.ศ. 2506-2516 ประถมศึกษา - มัธยมศึกษาปีที่3 โรงเรียนเซนต์คาเบรียล
- พ.ศ. 2517-2518 มัธยมศึกษาปีที่4-5 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา
- พ.ศ. 2518-2519 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- พ.ศ. 2519-2522 คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- พ.ศ. 2519-2524 คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- พ.ศ. 2524-2525 แพทย์ฝึกหัด รพ.ภูมิพล
- พ.ศ. 2527-2530 ศัลยกรรมตกแต่ง มหาวิทยาลัยโชวะ กรุงโตเกียว
- พ.ศ. 2529-2530 ศัลยกรรมศีรษะและคอ สถาบันมะเร็ง ประเทศญี่ปุ่น
- พ.ศ. 2530-2531 -ศัลยกรรมตกแต่ง Mt.Sinai Medical Center N.Y.
- -M.S.A. Cornell University N.Y.
- พ.ศ. 2533-2534 รร.เสนาธิการทหารเรือ
- พ.ศ. 2534-2536 คณะวิศวกรรมการแพทย์ มหาวิทยาลัยโชวะ กรุงโตเกียว
- พ.ศ. 2544-2545 วิทยาลัยการทัพเรือ
- พ.ศ. 2545-2546 รัฐประศาสนศาสตร์ มหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วุฒิการศึกษาและเกียรติที่เคยได้รับ
- พ.ศ. 2522 วิทยาศาสตร์บัณฑิต
- พ.ศ. 2524 แพทย์ศาสตร์บัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- พ.ศ. 2530 ประกาศนียบัตรศีรษะและคอ ประเทศญี่ปุ่น
- พ.ศ. 2530 ประกาศนียบัตรศัลยกรรมตกแต่งเสริมความงาม ประเทศญี่ปุ่น
- พ.ศ. 2531 วุฒิบัตร ศัลยกรรมตกแต่งและแก้ไขความพิการ ประเทศญี่ปุ่น
- พ.ศ. 2531 ประกาศนียบัตร ศัลยกรรมตกแต่ง Mt.Sinai Medical Center., N.Y., M.S.A. Cornell University N.Y.
- พ.ศ. 2534 ประกาศนียบัตร รร.เสนาธิการทหารเรือ
- พ.ศ. 2536 ปริญญาเอกดุษฎีบัณฑิต สาขาวิศวกรรมการแพทย์ (Laser Medicine) มหาวิทยาลัยโชวะ กรุงโตเกียว
- พ.ศ. 2541 รับพระราชทานรางวัลมหิดล -บีบราวน์ เพื่อการแพทย์และการสาธารณสุขไทยประจำปี 2541 จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
- พ.ศ. 2541 รางวัลบุคคลตัวอย่างแห่งปี ประจำปี 2541
- พ.ศ. 2542 รางวัลศิษย์เก่าดีเด่นคณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประจำปี 2542
- พ.ศ. 2543 รางวัลนักวิจัยดีเลิศ สำนักงานวิจัยและพัฒนาการทหารกระทรวงกลาโหมประจำปี 2540-43
- พ.ศ. 2544 รับพระราชทานรางวัลนักวิจัยดีเด่น Vincent Award ด้านงานวิจัยทางการแพทย์ ประจำปี 2544 จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี
- พ.ศ. 2544 ประกาศนียบัตรนักบริหารรุ่นใหม่ คณะพานิชยศาสตร์การบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- พ.ศ. 2545 รางวัลคนดีสังคมไทย ประจำปี 2545
- พ.ศ. 2546 รางวัลนักบริหารดีเด่น ประจำปี 2546
- พ.ศ. 2546 ปริญญารัฐประศาสนศาสตร์ มหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
หลักในการทำงาน
- ทำงานให้ดีที่สุดเท่าที่ทำได้ในวันนี้และปัจจุบันนี้ด้วยความสุขในใจธรรมนำการบริหาร
หลักในการดำเนินชีวิต
- ตามหลักธรรมของพระพุทธศาสนา
- ทาน - การให้เผื่อแผ่และแบ่งปัน
- ศีล - ระเบียบในการดำเนินชีวิต
- ภาวนา - ฝึกฝนอบรมจิตใจให้มั่นคง
- ประวัติดีเด่นในการทำงานที่ถือได้ว่าเป็นเกียรติและความภาคภูมิใจได้รับพระราชทานรางวัลมหิดล บีบราวน์ เพื่อการแพทย์และการสาธารณสุขไทย ประจำปี 2541 จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในงานพระราชทานปริญญาบัตรบัณฑิตใหม่มหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปี 2541ความสำเร็จในชีวิตการทำงาน ได้มีโอกาสทำงานในสิ่งที่ตนรัก ร่วมกับเพื่อนๆ ที่มีอุดมการณ์เช่นเดียวกันและเป็นประโยชน์ต่อผู้อื่น เป็นที่ปรึกษา รองนายกฯ ,สำนักพุทธฯ และกระทรวงศึกษาธิการหลายสมัย
- กิจกรรมที่ทำเพื่อสังคมในรูปแบบต่างๆ และโครงการที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติการก่อตั้งและดำเนินงานมูลนิธิดวงแก้วนาวาเอก ปิโยรส ปรียานนท์ ได้เป็นผู้ก่อตั้งมูลนิธิดวงแก้วขึ้น เมื่อปี พ.ศ.2531 โดยได้เริ่มทำงานออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่รักษาผ่าตัดผู้พิการและด้อยโอกาสในชนบทร่วมกับอาจารย์ ศัลยเวทย์ เลขะกุล และอาจารย์สุกิตต์ เอื้อไพบูลย์ ตั้งแต่ปีพ.ศ.2531 โดยเริ่มออกหน่วยแพทย์กับหน่วยแพทย์ของมูลนิธิ หู คอ จมูก ชนบทก่อน ภายหลังเมื่อมีคนไข้มากขึ้น จึงได้แยกหน่วยออกมาปฏิบัติการเอง โดยใช้ชื่อ“ มูลนิธิดวงแก้ว “ ซึ่งหมายถึงสิ่งประเสริฐดีงาม-พระรัตนตรัย วัตถุประสงค์ ของมูลนิธิดวงแก้ว ได้แก่ การช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ผู้พิการและด้อยโอกาสให้อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขยิ่งขึ้น โดยแบ่งเป็นเป้าหมายหลัก 3 ประการ คือ
1.เพื่อช่วยเหลือเด็ก ผู้ด้อยโอกาสและทุพพลภาพ
2.เพื่อส่งเสริมงานด้านวิจัยทางการแพทย์
3.เพื่อเผยแผ่พระพุทธศาสนาการดำเนินงานโครงการรณรงค์ต่อต้านความพิการในชนบทจากการที่ได้เล็งเห็นถึงความทุกข์ยากของผู้พิการ และด้อยโอกาสในถิ่นทุรกันดาร โดยเฉพาะชนบทที่ห่างไกล ซึ่งการเดินทางเข้ามารับการรักษาภายในตัวเมืองเป็นไปได้ยาก เนื่องจากความยากจน หรือในบางสถานที่โรงพยาบาลในชุมชนก็ขาดแคลนแพทย์เฉพาะทาง รวมทั้งเครื่องมือที่เหมาะสม ผู้พิการเหล่านี้ต้องทนทุกข์ทรมานที่ไม่สามารถรักษาได้ด้วยยา แต่จะหายหรือดีขึ้นได้ด้วยการผ่าตัดเท่านั้น
น.พ. ปิโยรสและคณะจึงได้ทำการประสานกับโรงพยาบาลในชุมชน,หน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่ที่มีความต้องการความช่วยเหลือ ขอทราบจำนวนผู้ป่วยที่ต้องการรับการรักษา โดยประสานกับหน่วยงานของรัฐและเอกชนอื่น ๆ เพื่อที่จะจัดวันออกไปทำการรักษาผ่าตัดให้ผู้ด้อยโอกาสในพื้นที่นั้น ๆ เป็นประจำทุก ๆ เดือน เดือนละอย่างน้อย 1 ครั้ง คณะทำงานประกอบด้วยแพทย์ พยาบาลและอาสาสมัครประมาณ 10 - 15 คน ทำการรักษาผ่าตัดครั้งละ 2 - 3 วัน วันละ 10 - 20 คน โดยทำการผ่าตัดตั้งแต่เช้า จนกระทั่งสิ้นสุดผู้ป่วยคนสุดท้าย ตั้งแต่ปี 2531 จนถึงปัจจุบันประมาณปี 2551 ได้ทำการผ่าตัดผป.ปากแหว่งเพดานโหว่ไปแล้วประมาณ 8,000 ราย รวม ผป.ทุกรายของหน่วยแพทย์เคลื่อนที่มูลนิธิดวงแก้ว ประมาณ15000รายได้จัดทีมหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ไปช่วยรักษาผ่าตัดในประเทศเพื่อนบ้านเช่น ลาว กัมพูชา เวียดนาม พม่า อินเดีย ภูฐานฯ ได้จัดทีมแพทย์ช่วยเหลือผู้ประสพภัยพิบัติทั้งในและต่างประเทศเช่น พม่า ศรีลังกา ญี่ปุ่น เซอเบียร์ บังกลาเทศ ฟิลลิปปินส์ เนปาล เป็นต้น ในปี2559 ได้เป็นประธานโครงการเทิดพระเกียรติสมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายก องค์ที่19แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ จัดสร้างวัดไทยรัตนประทีป ณ กรุงบูดาเปสต์ จัดสร้างพระบรมธาตุเจดีย์ ญาณสังวรานุสรณ์ และอาคาร ญาณสังวรานุสรณ์ เพื่อดูแลและฟื้นฟู ผป.สูงอายุและพิการ